Thursday, January 28, 2016

งานนักเรียน วรรณคดี

งานนักเรียน
1. ให้นักเรียน จดบันทีกคำประพันธ์เรื่อง ความดี ความชั่ว



ปลูกต้นข้าวเกิดเมล็ดข้าวดังเขาว่า
ปลูกถั่วงาเกิดถั่วงาเป็นแม่นมั่น
ปลูกอย่างไรได้ผลอย่างเดียวกัน
ตามพืชพันธุ์หว่านลงจงเข้าใจ
แม้ความชั่วปลูกลงคงได้ชั่ว
ความดีคงไม่กลั้วคุ้มตัวได้
ปลูกความดีผลดีมีทั่วไป

ความชั่วไซร้อย่าปลูกเป็นถูกเอย
(ผู้แต่ง - หม่อมเจ้าพิจิตรจิราภา เทวกุล)
หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต วรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

ครูและนักเรียนพูดคุย และถามถึงความหมายของคำประพันธ์
และให้นักเรียนจดบันทึกลงสมุด พร้อมทั้งตอบคำถามท้ายเรื่องดังนี้

2. คำถาม  จากคำกลอนเรื่องความดี ความชั่ว นักเรียนสามารถนำมาใช้
กับขีวิตของนักเรียนอย่างไร  ให้ทำลงสมุดแบบฝึกหัด

ครูสอบถามพูดคุยกับนักเรียน เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนไปแล้ว ตากะยาย
และถามว่านอกจากเรื่องตากะยายแล้วมีเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับตายายอีก
จนในที่สุดได้เรื่อง ตาอินกะตานา

3. ครูเล่าเรื่องตาอินกะตานา และให้นักเรียนอ่านเนื้อเพลง และพูดคุยเกี่ยวกับคุณธรรมในเรื่อง

เพลงตาอินตานา
    ตาอินกะตานา หาปลาเอามากินกัน
ได้ปลา ทุก วัน รักกันก็ปันกันไป
หาปลามานมนาน หาปลามาบานตะไท
จนแม้ ใคร ใคร รู้น้ำใจไมตรีปรีดา
แต่แล้ว วัน หนึ่ง เคราะห์มาถึงคมึงทึงมา
สองคน ถึง ครา แย่งหัวปลาหางปลากันเกรียว
ตาอินกะตานา โศกาอาวรณ์จริงเจียว
ตาอยู่มา เดี๋ยว เดียว
คว้าพุงเพรียวเพรียวไปกิน





งานนักเรียน








นักเรียน ศึกษาเกี่ยวกับคำว่า. "นิทรรศการ"
ที่พูดถึงเรื่องราวและกิจกรรมที่จัด. ซึ่งตรงกับ
งานนิทรรศการของโรงเรียน ในวันสถาปนาโรงเรียน


Thursday, January 21, 2016

เตรียมสอบบทที่ 11


1. กำหนดให้นักเรียนสอบบทที่ 11  เรื่องเด็กดี  ในวันจันทร์ที่ 25 มค 59
ข้อสอบจะเป็นเนื้อหาในเรื่อง ขอให้อ่านให้จบเรื่อง
และหลักภาษาไทย ในเรื่อง คำที่มีตัวการันต์ คำที่ใช้ รร และคำทีใช้เครื่องหมายคำพูด


ได้แจกแบบฝึกหัดให้นักเรียนไปทำเปนการบ้าน และให้นำมาส่งวันจันทร์

     ครูได้ทบทวน เรื่องยายกะตา และเน้ือหาเกี่ยวกับวัดโพธิ์ ให้นักเรียนศึกษาจากเพลง และวีดีโอประกอบตามเนื้อเรื่องข้างล่างนี้





Wednesday, January 20, 2016

งานนักเรียน








จากบทเรียน เรื่องเด็กดี
หลังจากให้นักเรียนอ่านเนื้อเรื่อง
แล้วสรุปร่วมกัน สิ่งที่ได้คือ maping ดังนี้