Thursday, September 2, 2010

หลักสูตรการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ของโรงเรียนสาธิต“สาธิตพิบูลบำเพ็ญ”

หลักสูตรการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ของโรงเรียนสาธิต“สาธิตพิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนที่มาจากสถานศึกษาอี่น ทั้งนอกและในระบบการศึกษาของไทย ผู้เรียนที่ขาดโอกาสในการเรียนรู้ในระบบหรือไม่สามารถเข้าเรียนในระบบได้ตามปกติ
การเรียนรู้ มี 8 สาระการเรียนรู้
กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระต่างๆ โดย
บูรณาการเนื้อหาสาระกลุ่มต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม
1 ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม
2 วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สุขศึกษา
3 ศิลปะ ศาสนา การงานอาชีพ พลศึกษา คอมพิวเตอร์
วิธีการจัดการเรียนรู้
มีวิธีจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความต้องการ สอดคล้องกับวิถีชีวิต และการทำงานของผู้เรียน โดยกำหนดกระบวนการเรียนรู้แบบ
- การเรียนรู้ด้วยตนเอง
- การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม
- การเรียนรู้แบบทางไกล
- การเรียนรู้แบบชั้นเรียน
- การเรียนรู้ตามอัธยาศัย เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้
- การเรียนรู้จากการทำโครงงาน
- และการเรียนรู้แบบอื่นๆ
การวัดและประเมินผล
- การวัดและประเมินผลเป็นรายวิชา
- การประเมินคุณภาพตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
- การประเมินระดับท้องถิ่น และระดับชาติ
-การจบหลักสูตร

เกณฑ์การตัดสินผลเรียน
ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 4 เกณฑ์ ดังนี้
1. การประเมินกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
จำนวนวิชาที่ต้องเรียนตามโครงสร้างหลักสูตร 8 วิชา
จำนวนวิชาที่ได้รับการประเมิน “ผ่าน” 8 วิชา

2. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
จำนวนกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติตามโครงสร้างหลักสูตร 6 กิจกรรม
จำนวนกิจกรรมที่ปฏิบัติทั้งหมด 6 กิจกรรม
จำนวนกิจกรรมที่ผ่านการประเมิน 6 กิจกรรม
3. การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

4. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง ๘ ประการ ได้แก่
๑) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
๒) ซื่อสัตย์สุจริต
๓) มีวินัย
๔) ใฝ่เรียนรู้
๕) อยู่อย่างพอเพียง
๖) มุ่งมั่นในการทำงาน
๗) รักความเป็นไทย
๘) มีจิตสาธารณะ
1. การประเมิน และได้รับการตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชาครบตามโครงสร้างของหลักสูตร
อื่นได้
2. ผ่านการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3. ผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ ตาม กำหนด
4. เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับท้องถิ่น และระดับชาติ เช่น LAS , NT , O-Net.
หน่วยกิต 40 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
การประเมินผลการเรียน 8 ระดับ ดังนี้

ความหมาย
80 - 100 4 ผลการเรียนดีเยี่ยม
75 - 79 3.5 ผลการเรียนดีมาก
70 - 74 3 ผลการเรียนดี
65 - 69 2.5 ผลการเรียนค่อนข้างดี
60 - 64 2 ผลการเรียนน่าพอใจ
55 - 59 1.5 ผลการเรียนพอใช้
50 - 54 1 ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด
0 - 49 0 ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด


การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กำหนด 4 กลุ่ม
- กิจกรรม ชุมนุม กิจกรรม
- กิจกรรม แนะแนว
- ลูกเสือ – เนตรนารี หรือกิจกรรมพัฒนานิสัย
- กิจกรรมเพื่อสังคม และสาธารณประโยชน์
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน สื่อความ
- ประเมินโดยใช้การสัมภาษณ์ การทำแบทดสอบ และการเข้าร่วมกิจกรรม
และความสามารถทางด้านภาษา ทักษะทั้ง 4 ด้าน ฟัง พูด อ่าน และเขียน
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2) ซื่อสัตย์สุจริต
3) มีวินัย
4) ใฝ่เรียนรู้
5) อยู่อย่างพอเพียง
6) มุ่งมั่นในการทำงาน
7) รักความเป็นไทย
8) มีจิตสาธารณะ
โดยพิจารณาจาก
1. คุณธรรมเพื่อประเมินตน เช่น ด้านความ สะอาด สุภาพ กตัญญกตเวที
2. คุณธรรมเพื่อพัฒนาการทำงาน เช่น ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์
3. คุณธรรมเพื่อการพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม สามัคคี มีน้ำใจ มีวินัย
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ธรรมให้ประเมินต่อเนื่องตลอดภาคเรียน โดยประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ จากผลงานแล้วสรุปผลการประเมินปลายภาคเรียน